“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “วิจัยเชิงสร้างสรรค์ ละครเพลงอาหรับราตรีและการแสดงไตรภูมิ”

ตอนสุดท้ายของ HUMAN Insight ขอหยิบยกสองผลงานวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ “การประพันธ์คำร้องและทำนองสำหรับละครเพลง อาหรับราตรี เดอะ มิวสิคัล” ของ นางสาวบุษยพัชร อุ่นจิตติกุล มหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี และ “การสื่อสารการแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในคอนเสิร์ตวัฒนธรรมนำไทย: ไตรภูมิ มหัศจรรย์แห่งชีวิต” ของ นายธีระพงศ์ ปานเด มหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ โดยผลงาน “วิจัยเชิงสร้างสรรค์” ของทั้งคู่นั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางศิลปะการแสดง มาเล่าให้ผู้ชมได้รับทราบกัน อ่านงานวิทยานิพนธ์ “การประพันธ์คำร้องและทำนองสำหรับละครเพลง อาหรับราตรี เดอะ มิวสิคัล” ได้ที่ https://bit.ly/3lRO5UN อ่านงานวิทยานิพนธ์ “การสื่อสารการแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในคอนเสิร์ตวัฒนธรรมนำไทย: ไตรภูมิ มหัศจรรย์แห่งชีวิต” ได้ที่ https://bit.ly/39tddeT ชม “HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ทุกตอนที่ผ่านมาได้ ดังนี้ “เศรษฐกิจการ์ตูน” – https://fb.watch/8bE6eW4RXB “เมื่อนักภาษาศาสตร์สอนภาษา” – https://fb.watch/8bEaP5naOM “พระสงฆ์กับ Social Media” – https://fb.watch/8bEm1PGtW7 “บ้าน อุดมการณ์ …

“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.2 ตอน “เมื่อนักภาษาศาสตร์สอนภาษา”

การเรียนภาษาต่างประเทศในศตวรรษที่ 21 อาจจะไม่เหมือนกับสิ่งเราที่เราคุ้นเคย นอกเหนือจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ ประโยค ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่ช่วยให้เราเรียนภาษาที่สองได้ดียิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งสอนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น HUMAN Insight ตอนที่สองนี้ จะชวนผู้ชมเปลี่ยนมุมมองเดิมๆ มาสู่การเรียนการสอนภาษาตามแบบฉบับของนักภาษาศาสตร์จากงานวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้อินพุตเสียงที่มีการแปรในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ” เพื่อชวนคิดต่อว่า แนวทางภาษาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศจะต่างจากเดิมอย่างไร หรือจะมีส่วนช่วยเสริมวิธีการในปัจจุบันได้อย่างไร โดยเฉพาะการจดจำคำศัพท์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้าง”คลังคำศัพท์”ด้วย “เสียง” เพื่อให้การสื่อสารภาษาที่สองลื่นไหลยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มภาษาญี่ปุ่นและบทคัดย่อภาษาไทยได้ที่ https://bit.ly/3hvCAiG

“HUMAN Insight :เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.3 ตอน “พระสงฆ์กับ Social Media”

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เราใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์กันอย่างแพร่หลายในแทบทุกส่วนของสังคม โดยที่ผู้ใช้งานต่างก็มีเหตุผล วัตถุประสงค์ และความต้องการใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามบริบทของชีวิตและการทำงาน และแน่นอน พระสงฆ์ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน HUMAN Insight ตอนที่สาม จะชวนผู้ชมมาร่วมกันค้นหาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้พระสงฆ์เลือกใช้หรือไม่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการทดสอบด้วยทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) รวมไปถึงตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองและตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสนับสนุนความสามารถในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์เพื่อให้พระพุทธศาสนาสามารถเชื่อมต่อกับสังคมโลกยุคใหม่ได้อย่างสมดุล ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3ofl2Ly

เปิดตัวรายการใหม่ “HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.1 ตอน “เศรษฐกิจการ์ตูน”

เหตุใดการ์ตูนญี่ปุ่นที่เราเรียกกันว่า “มังงะ” ถึงได้กลายเป็นเศรษฐกิจระดับโลกได้ เท่านั้นไม่พอ มังงะยังช่วยจุดประกายความคิดบางอย่างจนเกิดเป็นกระแสสังคม HUMAN Insight ตอนแรกนี้จะชวนผู้ชมไปหาความรู้ดีๆ จากงานวิจัยเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ “ตัวละครอมนุษย์กับวัฒนธรรมศึกษาในมังงะญี่ปุ่น” เพื่อหาคำตอบว่าทำไม “มังงะ” ถึงกลายเป็นเศรษฐกิจใหม่และกระแสโลกที่น่าจับมองและชวนทุกท่านคิดตามและมองย้อนกลับมาที่ไทย เราสามารถนำบทเรียนจากมังงะมาใช้ในการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (การ์ตูน/แอนิเมชั่น/เกม) อย่างไรได้บ้าง ถ้าทราบแล้ว ช่วยบอกเราข้างล่างนี้ด้วย ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา : ลิงค์ >>> https://bit.ly/2ZnNEq1

“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “Big Data กับ สถานีโทรทัศน์ไทย”

เมื่อรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันมิได้มีช่องทางการเผยแพร่ผ่านการออกอากาศแบบเก่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเผยแพร่คู่ขนานผ่านช่องทางของสื่อออนไลน์ด้วย การใช้งาน Big Data มีส่วนสำคัญอย่างไรบ้างในการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย   HUMAN Insight จะชวนผู้ชมมารับรู้เรื่องราวการใช้งาน Big Data ในวงการสื่อโทรทัศน์ ผ่านงานวิจัยเรื่อง “การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทย” ของ อาจารย์ ดร.ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งพบว่า วงการโทรทัศน์ไทยยังคงมีการใช้งาน Big Data ที่น้อยอันเนื่องมาจากยังไม่มีแนวนโยบายที่ชัดเจนในการใช้งาน ประกอบกับมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับสถานีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านของสื่อโทรทัศน์ไปสู่ความเป็นดิจิทัล ย่อมทำให้การใช้งาน Big Data กลายเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารงานและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรสื่อ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานสื่อโทรทัศน์จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในวงการได้ ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3oldfMq #นวัตกรรมมนุษยศาสตร์ #HumanitiesInnovation #HumanInsight #เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์

“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “ปัญหาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษา”

안녕하세요 มากกว่า 10 ปีมาแล้วที่ แฟชั่น ดนตรี ซีรี่ส์ อาหาร สารพัดของความเป็น “เกาหลี” ได้รับความนิยมในประเทศไทย แล้วการเรียนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษาล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง HUMAN Insight จะชวนผู้ชมมาติดตามสถานการณ์การเรียนรู้ภาษาเกาหลีในระดับชั้นมัธยมศึกษา จากงานวิจัยเรื่อง “สภาพการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย : ปัญหาและการแก้ไข” ของ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ปพนพัชร์ กอบศิริธีร์วรา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์สัชฌุกร แก้วช่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสารวิทยา ซึ่งจากงานวิจัยพบ 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร, ปัญหามาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้, ปัญหาตำราเรียนภาษาเกาหลี และ ปัญหาการสนับสนุนด้านทุนการศึกษา #นวัตกรรมมนุษยศาสตร์ #HumanitiesInnovation #HumanInsight #เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์

“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่น”

การสอนภาษาต่างประเทศที่เน้นเรื่องหลักภาษาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สำคัญมากไปกว่าความสุขของผู้เรียนและผู้สอน ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาควรจะเป็นอย่างไร HUMAN Insight ขอเชิญผู้ชมพบกับงานวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ และความคาดหวังของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยต่อชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่น ครูภาษาญี่ปุ่น และบทบาทของผู้สอน” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพกา ฟูกุชิม่า ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ริกะ อินะงะขิ โรงเรียน EEC Japanese Institute ซึ่งพบว่า ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่นควรมีเนื้อหาสาระด้านวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเรียนภาษา ความเข้าใจในบริบททางวัฒนธรรมจะทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้อง พร้อมไปกับการที่ผู้สอนต้องมีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสารได้จริงโดยไม่ต้องกลัวผิด รวมไปถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่มีความผ่อนคลาย ไม่กดดันตึงเครียด ซึ่งทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3c6teJx