HUMAN Insight
ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ประวัติศาสตร์หนังสือกับวรรณกรรมศึกษาในบริบทไทย
โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); บริษัทเคล็ดไทย จำกัด; Mind Space managed by นายอินทร์ และ C ASEAN SAMYAN CO-OP ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ประวัติศาสตร์หนังสือกับวรรณกรรมศึกษาในบริบทไทย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม บรรณาธิการ สู่กาละนวสมัย: วรรณกรรมไทยสมัยใหม่ยุคแรกเริ่ม ถึง พ.ศ.2500 รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ผู้เขียน ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นันทนุช อุดมละมุล วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ Mind Space ชั้น 1 (ถัดจากชั้น G) ร้านนายอินทร์ สาขาสามย่านมิตรทาวน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ E-mail: sriwan.b@ku.th (ศรีวรรณ)
September 8, 2024
ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.นันทนุช อุดมละมุล
คณะมนุษยศาสตร์ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทนุช อุดมละมุล อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี; รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัย เรื่อง Resilience and Adaptation to Climate Change using BCG Approach ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
August 20, 2024
ขอเชิญร่วมพิธีมอบรางวัลการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2567
ขอเชิญร่วมพิธีมอบรางวัลการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2567 การเสวนา “ก้าวใหม่ๆ ของวรรณกรรมวิจารณ์: ข้อสังเกตจากผลงานที่ส่งประกวด” โดย ชมัยภร บางคมบาง, รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก พบกันวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น.ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ผู้มาร่วมงานจะได้รับหนังสือรวมผลงานที่ชนะการประกวด ฟรี!!
August 20, 2024
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม
คณะมนุษยศาสตร์ขอแสดงความชื่นชมยินดีในโอกาสที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นผู้แสดงปาฐกถา (Keynote Speaker) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 5th Language, Society, and Culture International Conference (LSCIC 2024) ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรม A-ONE Pattaya Beach Resort จังหวัดชลบุรี
August 14, 2024
ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนามในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2567
คณะมนุษยศาสตร์ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์; ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2567 และขอต้อนรับ ดร.นันท์ภัชอร ภูมิธรรมรัตน์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ปฏิบัติงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ความสนใจทางวิชาการของ ดร.นันท์ภัชอร ภูมิธรรมรัตน์ ประกอบด้วย ผลงานของนักเขียนสตรี บันเทิงคดีประชานิยม และสื่อประเภทเกิร์ลส์เลิฟ (Girls Love – GL) ทั้งนี้ ดร.นันท์ภัชอร นับเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ปฏิบัติงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์ *ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2567 อนึ่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดการทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก #HumanitiesKU#ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์
July 5, 2024
คณะมนุษยศาสตร์ยินดีต้อนรับ Dr. Mary Jane Ainslie
คณะมนุษยศาสตร์ยินดีต้อนรับ Dr. Mary Jane Ainslie จาก University of Nottingham Ningbo China ในโอกาสที่เริ่มต้นปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะ (Visiting Scholar) สังกัดภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ อาจารย์ผู้ดูแลของ Dr. Ainslie คือรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี *การปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะหรือศาสตราจารย์อาคันตุกะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านโครงการ Academic Staff Mobility ในวาระนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUIC) กับคณะมนุษยศาสตร์
June 13, 2024
เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 3)
ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 3) ประเภททุน แผนงานวิจัยหรือแผนงานสร้างสรรค์ แผนงานละไม่เกิน 500,000 บาท โครงการวิจัยหรือโครงการงานสร้างสรรค์เดี่ยว โครงการละไม่เกิน 70,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์แบบเบ็ดเสร็จ ทุนละ 100,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาไทย โครงการละไม่เกิน 40,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาต่างประเทศ โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท คุณสมบัติผู้รับทุน เป็นบุคลากรสายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อหรือไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น เป็นผู้ไม่ค้างส่งทุนวิจัยหรือทุนโครงการตำรา ตามระยะเวลาที่กำหนด สอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่ คุณศรีวรรณ (เบล) ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ อีเมล sriwan.b@ku.th ดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/3zyuD7r ปิดรับข้อเสนอโครงการวันที่ 5 สิงหาคม 2567
June 4, 2024
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2567)
May 28, 2024
ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องฝรั่งเศส-ไทยศึกษาในมิติต่าง ๆ โดยมีกำหนดรับบทคัดย่อหรือบทความฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 สามารถส่งผลงานได้ที่ https://forms.gle/dHGrUov9kES7bYrJ7 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://tinyurl.com/y95bmsru พบกับเสวนาเนื่องในงานประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสในสุวรรณภูมิ: การเดินทางในโลกสหวิทยาการ” เรื่อง “ภาษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย/ลาว: บทบาทยุคปัจจุบัน” โดย Monsieur Sikko MILAKONG มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป.ลาว Madame Latdany LATMANYมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป.ลาว รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรพงษ์ อินทโน Institut national des langues et civilisations orientales-INALCO ประเทศฝรั่งเศส รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ปุรินทราภิบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.30 – 17.30 น. โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด อ.
May 28, 2024
ดวงใจวิจารณ์ ปี 2567
โค้งสุดท้าย ใกล้ปิดรับผลงานแล้ว อย่ารอช้า…รีบส่งบทวิจารณ์มาประกวดกัน ทั้งบทวิจารณ์วรรณกรรม และบทวิจารณ์สื่อร่วมสมัย ปิดรับผลงาน 31 พฤษภาคม นี้ ช่องทางการส่งผลงาน https://forms.gle/u55LJ9NLxw2rvasx9 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://shorturl.asia/Xd25a
May 15, 2024
ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส โครงการประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส โครงการประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสในสุวรรณภูมิ: การเดินทางในโลกสหวิทยาการ” วันที่ 13-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด อ. เมือง จ. ขอนแก่น โดยมีกำหนดรับบทคัดย่อหรือบทความฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 ที่ https://forms.gle/dHGrUov9kES7bYrJ7 **บทความจากการประชุมวิชาการที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารคณะของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย 4 มหาวิทยาลัย** (ท่านสามารถเลือกตีพิมพ์เผยแพร่บทความในรายงานการประชุม หรือ วารสารคณะของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย 4 มหาวิทยาลัย) รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://tinyurl.com/y95bmsru สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – ผศ.ดร.ธีระ รุ่งธีระ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ที่ theerar@msu.ac.th – อ.ดร.กันตพงศ์ จิตต์กล้า (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ที่ ckanta@kku.ac.th ———————————– Appel à communication Colloque interdisciplinaire national sur études françaises
February 22, 2024
ประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น ดวงใจวิจารณ์ ปี 2567
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กองทุนศรีบูรพา สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชมรมวิจารณ์บันเทิง เพจ “ดวงใจวิจารณ์” และเครือข่ายความร่วมมือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น ดวงใจวิจารณ์ ปี 2567 เปิดรับผลงานวิจารณ์ ตั้งแต่บัดนี้ – 31 พฤษภาคม 2567 ช่องทางการส่งผลงานhttps://forms.gle/u55LJ9NLxw2rvasx9 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกhttps://shorturl.asia/Xd25a
February 7, 2024
เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 2)
ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 2).ประเภททุน แผนงานวิจัยหรือแผนงานสร้างสรรค์ แผนงานละไม่เกิน 500,000 บาท โครงการวิจัยหรือโครงการงานสร้างสรรค์เดี่ยว โครงการละไม่เกิน 70,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์แบบเบ็ดเสร็จ ทุนละ 100,000 บาท ทุนสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาไทย โครงการละไม่เกิน 40,000 บาท ทุนสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาต่างประเทศ โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท.คุณสมบัติผู้รับทุน เป็นบุคลากรสายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อหรือไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น เป็นผู้ไม่ค้างส่งทุนวิจัยหรือทุนโครงการตำรา ตามระยะเวลาที่กำหนด. สอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่ คุณศรีวรรณ ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ อีเมล sriwan.b@ku.th ดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/3zyuD7r ปิดรับข้อเสนอโครงการวันที่ 30 เมษายน 2567
February 6, 2024
วิดีโอแนะนำคณะมนุษยศาสตร์
Introduction to the Faculty of Humanities
December 22, 2023
เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 1)
ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 1) ประเภททุน แผนงานวิจัยหรือแผนงานสร้างสรรค์ แผนงานละไม่เกิน 500,000 บาท โครงการวิจัยหรือโครงการงานสร้างสรรค์เดี่ยว โครงการละไม่เกิน 70,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์แบบเบ็ดเสร็จ ทุนละ 100,000 บาท ทุนสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเอกสารเพื่อพัฒนาฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาไทย โครงการละไม่เกิน 40,000 บาท ทุนสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเอกสารเพื่อพัฒนาฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาต่างประเทศ โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท คุณสมบัติผู้รับทุน เป็นบุคลากรสายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อหรือไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น เป็นผู้ไม่ค้างส่งทุนวิจัยหรือทุนโครงการตำรา ตามระยะเวลาที่กำหนด สอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่ คุณศรีวรรณ ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ อีเมล sriwan.b@ku.th ดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/3zyuD7r ปิดรับข้อเสนอโครงการวันที่ 31 มกราคม 2567
December 8, 2023
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ได้รับเชิญเป็นผู้แสดงปาฐกถา (Keynote Speaker) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ LGBTQ Issues and the Globalization of “BL”
คณะมนุษยศาสตร์ขอแสดงความชื่นชมยินดีในโอกาสที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นผู้แสดงปาฐกถา (Keynote Speaker) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ LGBTQ Issues and the Globalization of “BL” ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ Meiji University, Nakano Campus ประเทศญี่ปุ่น
November 16, 2023
คอนเสิร์ต KASETSART WINDS x THE SWEAT ROCK Road to Texas II “Nostalgia”
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแสดงคอนเสิร์ตระดมทุน Road to Texas ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายนนี้ เวลา 17.00 – 20.00 น. ณ ห้องประชุมและแสดงดนตรี อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ชื่อชุดการแสดง คอนเสิร์ต Road to Texas II “Nostalgia” โดย วง Kasetsart Winds จะประชันและบรรเลงร่วมกับวง the Sweat Rock ในบทเพลงที่ชวนให้ผู้ชมหวนคะนึงถึงความหลังยุค 70’s – 90’s หลากหลายอารมณ์เพลง ทั้ง เพลงรักหวาน ๆ และ เพลง Hard Rock มันส์สุดเหวี่ยง
June 12, 2023
โครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คติและความหมายแห่งโบราณราชประเพณี”
สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ร่วมกับภาควิชาวรรณคดีและภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คติและความหมายแห่งโบราณราชประเพณี” เฉลิมฉลองวาระ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.00-16.00 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
June 12, 2023
คอนเสิร์ต KASETSART WINDS Road to Texas
Kasetsart Winds กับเส้นทางไปแสดงมรดกวัฒนธรรมและดนตรีในงานประชุมสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับวงดุริยางค์เครื่องลมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
June 12, 2023
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กล่าวคำอวยพรปีใหม่
ผศ.ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กล่าวคำอวยพรปีใหม่ให้กับบุคลากร และรายงานความก้าวหน้าในการบริหารงานที่ผ่านมาและสิ่งที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตของคณะมนุษยศาสตร์
June 12, 2023
คอนเสิร์ตเสน่ห์พรหมเทพ (The Symphony at Sunset)
12 ธ.ค. 65 / 17.30 – 20.30 ณ แหลมพรหมเทพ by Kasetsart Wind Symphony
June 12, 2023
📢 KU Academic Talk Series : In Celebration of the 80th Anniversary of Kasetsart University
การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ Rationality: What It is, Why It Seems Scarce, Why It Matters” เนื่องในวาระครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
June 12, 2023
คอนเสิร์ต “Rhythm of Life ฟังเพลงพ่อ คลอเสียงน้ำ ครั้งที่ 3”
June 12, 2023
Piano Extravaganza in Honor of Her Majesty Queen Sirikit, The Queen Mother’s 90th Birthday
คอนเสิร์ตเปียโนครั้งแรกของคณะมนุษยศาสตร์ กับบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเป็นพิเศษสำหรับเปียโนแสดงร่วมกับวงดุริยางค์เครื่องลมแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบทเพลงสำหรับเปียโน 2 และ 4 หลังที่ประพันธ์โดย Rachmaninoff, Saint-Saëns, Vivaldi, และ Abrue เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์ 90 พรรษา
June 12, 2023
วิดีโอวงเสวนาร่วมพูดคุยกับนักแสดง ผู้กำกับ กับกระแสซีรีย์วาย (Boys Love) และนักวิชาการในหัวข้อ LGBTQ+ Visibility & Representation in Thai Boys Love Series
หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาคือ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ ผู้สนใจวรรณกรรมร่วมสมัย วัฒนธรรมวาย และวัฒนธรรมสกรีน
June 12, 2023
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงาน Professor David Crystal’s Online Talk ในหัวข้อ “What’s New in the English Language?”
ณ ห้องประชุมและแสดงดนตรี ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์
June 12, 2023
Kastsert Winds Pre Season Concert
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 ถ่ายทอดสด Concert วงดุริยางค์เครื่องลม แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
June 12, 2023
ดนตรีในสวน
วงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – KU Wind Symphony ร่วมบรรเลง “ดนตรีในสวน เพื่อความสุขและความหวัง” ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) โดยการสนับสนุนจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ผู้บริหาร คณาจารย์และศิษย์เก่าภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมด้วยช่วยกันสร้างความสุขให้กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งความหวังของเรา
June 12, 2023
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพื้นฐานการจัดการระบบขยายเสียงสำหรับดนตรีไทย
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี และฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการ “พื้นฐานการจัดการระบบขยายเสียงสำหรับดนตรีไทย” เพื่อเผยแพร่ความรู้สำหรับนิสิต บุคลากรและบุคคลภายนอก
June 12, 2023
Re/Enacting History & Decolonizing Genteel Romance in Thailand & Asia
ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ ชุดโครงการสกรีนเวิร์ล (Screenworlds.org โดย School of Oriental and African Studies–SOAS, University of London) University of Sheffield โครงการ MU-Talents สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ประเทศไทย และ Bangkok CityCity Gallery ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสกรีนเสวนา
June 12, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “มิตร ชัยบัญชา จากดาราสู่วิญญาณศักดิ์สิทธิ์”
หากกล่าวถึงดาราที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุค พ.ศ.2500 คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่นึกถึง “มิตร ชัยบัญชา” และบทบาทของการเป็นดาราดังแปรเปลี่ยนไปสู่การเป็น “พ่อปู่” ได้อย่างไร HUMAN Insight ขอเชิญผู้ชมพบกับงานวิจัยเรื่อง “จากศรัทธาสู่พิธีกรรมบูชา : เรื่องเล่าประวัติชีวิต และวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของ “พ่อปู่มิตร ชัยบัญชา”” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา ณ หนองคาย ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งค้นพบว่า การเกิดขึ้นและมีอยู่ของพ่อปู่มิตร ชัยบัญชา มีลักษณะสัมพันธ์กับความคิดเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ และการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้พ่อปู่มิตร ชัยบัญชาเกิดจากการนำแบบแผนวีรบุรุษและความเป็นผู้นำในวัฒนธรรม ตอบสนองความต้องการพื้นฐานและที่พึ่งทางใจในมิติสังคมทุนและวัตถุนิยมปัจจุบัน ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3nsmD2k
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “ภาษาบนป้ายสาธารณะ”
ป้ายสาธารณะไม่ได้มีหน้าที่แค่เพียงการบอกเล่าข้อมูลข่าวสาร แต่ยังมีส่วนในการสะท้อนตัวตนและสถานการณ์ทางภาษาของผู้คนและพื้นที่ที่มีป้ายสาธารณะนั้นปรากฏอยู่ด้วย HUMAN Insight ขอเชิญผู้ชมพบกับงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินาถ เรขาลิลิต ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง “การเลือกภาษาของป้ายสาธารณะในมหาวิทยาลัยของไทย กรณีศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ซึ่งพบว่า ป้ายสาธารณะจำนวนมากถึงร้อยละ 80 เป็นป้ายที่ใช้ภาษาไทยเพียงภาษาเดียว และร้อยละ 20 เป็นป้ายที่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งป้ายที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นป้ายที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาอังกฤษในพื้นที่ ส่วนการใช้งานป้ายสาธารณะที่มีสองภาษา พบว่ามีทั้งที่ภาษามีความหมายสอดคล้องกัน, ไม่สอดคล้องกัน และปนภาษากัน หน่วยงานที่ต้องการก้าวไปสู่ความเป็นสากล ควรมีการดำเนินนโยบายภาษาที่ควบคู่กันไป และสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆด้วยการเลือกใช้ภาษาในป้ายสาธารณะ ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3lEUuUO
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “บ้าน อุดมการณ์ ภาษา”
การมีบ้านเป็นของตัวเองเป็นความฝันของทุกคน ซื้อบ้านอย่างไรให้ได้ตรงกับที่ฝัน ไม่ผิดพลาดเพราะเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา HUMAN Insight จะชวนผู้ชมมารู้เท่าทันกับกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการโฆษณาซึ่งถูกเรียบเรียงมาจากปัจจัยอันได้แก่ ราคา, การบริการ, สิ่งแวดล้อม, คุณภาพของบ้าน และ ความปลอดภัย เพื่อโน้มน้าวให้เกิดความเชื่อและตัดสินใจซื้อ จากงานวิจัยเรื่อง “บ้านกับความสมบูรณ์พร้อมของการใช้ชีวิต : ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์” ของ อาจารย์วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3rPCmYN
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “การศึกษาจำเป็นหรือไม่เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน”
บ่อยครั้งที่เรามีคำถามว่า ต้องเรียนให้จบก่อนแล้วค่อยทำงาน หรือว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะสามารถเรียนไปและทำงานไปด้วยพร้อมๆกัน HUMAN Insight ขอเชิญผู้ชมพบกับงานวิจัยเรื่อง “แบบจำลองส่วนหน้าของการเตรียมความพร้อมในด้านอาชีพและนัยสำคัญที่มีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพทวี โชควศิน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งพบว่า การเรียนและการทำงานสามารถดำเนินไปอย่างควบคู่กันได้ตลอดชีวิต การเรียนในห้องเรียนหรือการเรียนในหลักสูตร (การเรียนในแบบจำลองส่วนหน้า) ที่ถึงแม้ว่าจะมีความจำเป็นในแง่ของการเตรียมทักษะความพร้อมไปสู่การทำงานจริง แต่ก็ยังไม่สามารถประกันได้ว่าผู้เรียนจะสามารถทำงานได้จริง ซึ่งเมื่อเข้าสู่การทำงานก็ยังต้องมีการเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาทักษะในด้านต่างๆเพิ่มเติมอีก หลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีส่วนสำคัญเพื่อการเติมเต็มให้กับทุกคนในสังคม ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/2Y3rwUZ
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “วิจัยเชิงสร้างสรรค์ ละครเพลงอาหรับราตรีและการแสดงไตรภูมิ”
ตอนสุดท้ายของ HUMAN Insight ขอหยิบยกสองผลงานวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ “การประพันธ์คำร้องและทำนองสำหรับละครเพลง อาหรับราตรี เดอะ มิวสิคัล” ของ นางสาวบุษยพัชร อุ่นจิตติกุล มหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี และ “การสื่อสารการแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในคอนเสิร์ตวัฒนธรรมนำไทย: ไตรภูมิ มหัศจรรย์แห่งชีวิต” ของ นายธีระพงศ์ ปานเด มหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ โดยผลงาน “วิจัยเชิงสร้างสรรค์” ของทั้งคู่นั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางศิลปะการแสดง มาเล่าให้ผู้ชมได้รับทราบกัน อ่านงานวิทยานิพนธ์ “การประพันธ์คำร้องและทำนองสำหรับละครเพลง อาหรับราตรี เดอะ มิวสิคัล” ได้ที่ https://bit.ly/3lRO5UN อ่านงานวิทยานิพนธ์ “การสื่อสารการแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในคอนเสิร์ตวัฒนธรรมนำไทย: ไตรภูมิ มหัศจรรย์แห่งชีวิต” ได้ที่ https://bit.ly/39tddeT ชม “HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ทุกตอนที่ผ่านมาได้ ดังนี้ “เศรษฐกิจการ์ตูน” – https://fb.watch/8bE6eW4RXB “เมื่อนักภาษาศาสตร์สอนภาษา” – https://fb.watch/8bEaP5naOM “พระสงฆ์กับ Social Media” – https://fb.watch/8bEm1PGtW7 “บ้าน อุดมการณ์
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.2 ตอน “เมื่อนักภาษาศาสตร์สอนภาษา”
การเรียนภาษาต่างประเทศในศตวรรษที่ 21 อาจจะไม่เหมือนกับสิ่งเราที่เราคุ้นเคย นอกเหนือจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ ประโยค ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่ช่วยให้เราเรียนภาษาที่สองได้ดียิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งสอนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น HUMAN Insight ตอนที่สองนี้ จะชวนผู้ชมเปลี่ยนมุมมองเดิมๆ มาสู่การเรียนการสอนภาษาตามแบบฉบับของนักภาษาศาสตร์จากงานวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้อินพุตเสียงที่มีการแปรในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ” เพื่อชวนคิดต่อว่า แนวทางภาษาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศจะต่างจากเดิมอย่างไร หรือจะมีส่วนช่วยเสริมวิธีการในปัจจุบันได้อย่างไร โดยเฉพาะการจดจำคำศัพท์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้าง”คลังคำศัพท์”ด้วย “เสียง” เพื่อให้การสื่อสารภาษาที่สองลื่นไหลยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มภาษาญี่ปุ่นและบทคัดย่อภาษาไทยได้ที่ https://bit.ly/3hvCAiG
June 9, 2023
“HUMAN Insight :เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.3 ตอน “พระสงฆ์กับ Social Media”
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เราใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์กันอย่างแพร่หลายในแทบทุกส่วนของสังคม โดยที่ผู้ใช้งานต่างก็มีเหตุผล วัตถุประสงค์ และความต้องการใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามบริบทของชีวิตและการทำงาน และแน่นอน พระสงฆ์ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน HUMAN Insight ตอนที่สาม จะชวนผู้ชมมาร่วมกันค้นหาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้พระสงฆ์เลือกใช้หรือไม่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการทดสอบด้วยทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) รวมไปถึงตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองและตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสนับสนุนความสามารถในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์เพื่อให้พระพุทธศาสนาสามารถเชื่อมต่อกับสังคมโลกยุคใหม่ได้อย่างสมดุล ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3ofl2Ly
June 9, 2023
เปิดตัวรายการใหม่ “HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” Ep.1 ตอน “เศรษฐกิจการ์ตูน”
เหตุใดการ์ตูนญี่ปุ่นที่เราเรียกกันว่า “มังงะ” ถึงได้กลายเป็นเศรษฐกิจระดับโลกได้ เท่านั้นไม่พอ มังงะยังช่วยจุดประกายความคิดบางอย่างจนเกิดเป็นกระแสสังคม HUMAN Insight ตอนแรกนี้จะชวนผู้ชมไปหาความรู้ดีๆ จากงานวิจัยเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ “ตัวละครอมนุษย์กับวัฒนธรรมศึกษาในมังงะญี่ปุ่น” เพื่อหาคำตอบว่าทำไม “มังงะ” ถึงกลายเป็นเศรษฐกิจใหม่และกระแสโลกที่น่าจับมองและชวนทุกท่านคิดตามและมองย้อนกลับมาที่ไทย เราสามารถนำบทเรียนจากมังงะมาใช้ในการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (การ์ตูน/แอนิเมชั่น/เกม) อย่างไรได้บ้าง ถ้าทราบแล้ว ช่วยบอกเราข้างล่างนี้ด้วย ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา : ลิงค์ >>> https://bit.ly/2ZnNEq1
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “Big Data กับ สถานีโทรทัศน์ไทย”
เมื่อรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันมิได้มีช่องทางการเผยแพร่ผ่านการออกอากาศแบบเก่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเผยแพร่คู่ขนานผ่านช่องทางของสื่อออนไลน์ด้วย การใช้งาน Big Data มีส่วนสำคัญอย่างไรบ้างในการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย HUMAN Insight จะชวนผู้ชมมารับรู้เรื่องราวการใช้งาน Big Data ในวงการสื่อโทรทัศน์ ผ่านงานวิจัยเรื่อง “การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทย” ของ อาจารย์ ดร.ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งพบว่า วงการโทรทัศน์ไทยยังคงมีการใช้งาน Big Data ที่น้อยอันเนื่องมาจากยังไม่มีแนวนโยบายที่ชัดเจนในการใช้งาน ประกอบกับมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับสถานีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านของสื่อโทรทัศน์ไปสู่ความเป็นดิจิทัล ย่อมทำให้การใช้งาน Big Data กลายเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารงานและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรสื่อ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานสื่อโทรทัศน์จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในวงการได้ ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3oldfMq #นวัตกรรมมนุษยศาสตร์ #HumanitiesInnovation #HumanInsight #เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “ปัญหาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษา”
안녕하세요 มากกว่า 10 ปีมาแล้วที่ แฟชั่น ดนตรี ซีรี่ส์ อาหาร สารพัดของความเป็น “เกาหลี” ได้รับความนิยมในประเทศไทย แล้วการเรียนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษาล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง HUMAN Insight จะชวนผู้ชมมาติดตามสถานการณ์การเรียนรู้ภาษาเกาหลีในระดับชั้นมัธยมศึกษา จากงานวิจัยเรื่อง “สภาพการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย : ปัญหาและการแก้ไข” ของ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ปพนพัชร์ กอบศิริธีร์วรา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์สัชฌุกร แก้วช่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสารวิทยา ซึ่งจากงานวิจัยพบ 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร, ปัญหามาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้, ปัญหาตำราเรียนภาษาเกาหลี และ ปัญหาการสนับสนุนด้านทุนการศึกษา #นวัตกรรมมนุษยศาสตร์ #HumanitiesInnovation #HumanInsight #เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์
June 9, 2023
“HUMAN Insight : เล่างานวิจัยแบบเข้าใจมนุษย์” ตอน “ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่น”
การสอนภาษาต่างประเทศที่เน้นเรื่องหลักภาษาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สำคัญมากไปกว่าความสุขของผู้เรียนและผู้สอน ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาควรจะเป็นอย่างไร HUMAN Insight ขอเชิญผู้ชมพบกับงานวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ และความคาดหวังของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยต่อชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่น ครูภาษาญี่ปุ่น และบทบาทของผู้สอน” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพกา ฟูกุชิม่า ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ริกะ อินะงะขิ โรงเรียน EEC Japanese Institute ซึ่งพบว่า ชั้นเรียนที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่นควรมีเนื้อหาสาระด้านวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเรียนภาษา ความเข้าใจในบริบททางวัฒนธรรมจะทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้อง พร้อมไปกับการที่ผู้สอนต้องมีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสารได้จริงโดยไม่ต้องกลัวผิด รวมไปถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่มีความผ่อนคลาย ไม่กดดันตึงเครียด ซึ่งทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3c6teJx
June 9, 2023
HUMAN Insight
ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ประวัติศาสตร์หนังสือกับวรรณกรรมศึกษาในบริบทไทย
โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); บริษัทเคล็ดไทย จำกัด; Mind Space managed by นายอินทร์ และ C ASEAN SAMYAN CO-OP ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ประวัติศาสตร์หนังสือกับวรรณกรรมศึกษาในบริบทไทย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม บรรณาธิการ สู่กาละนวสมัย: วรรณกรรมไทยสมัยใหม่ยุคแรกเริ่ม ถึง พ.ศ.2500 รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ผู้เขียน ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นันทนุช อุดมละมุล วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ Mind Space ชั้น 1 (ถัดจากชั้น G) ร้านนายอินทร์ สาขาสามย่านมิตรทาวน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ E-mail: sriwan.b@ku.th (ศรีวรรณ)
September 8, 2024
ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.นันทนุช อุดมละมุล
คณะมนุษยศาสตร์ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทนุช อุดมละมุล อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี; รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัย เรื่อง Resilience and Adaptation to Climate Change using BCG Approach ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
August 20, 2024
ขอเชิญร่วมพิธีมอบรางวัลการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2567
ขอเชิญร่วมพิธีมอบรางวัลการประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2567 การเสวนา “ก้าวใหม่ๆ ของวรรณกรรมวิจารณ์: ข้อสังเกตจากผลงานที่ส่งประกวด” โดย ชมัยภร บางคมบาง, รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก พบกันวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น.ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ผู้มาร่วมงานจะได้รับหนังสือรวมผลงานที่ชนะการประกวด ฟรี!!
August 20, 2024
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม
คณะมนุษยศาสตร์ขอแสดงความชื่นชมยินดีในโอกาสที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นผู้แสดงปาฐกถา (Keynote Speaker) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 5th Language, Society, and Culture International Conference (LSCIC 2024) ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรม A-ONE Pattaya Beach Resort จังหวัดชลบุรี
August 14, 2024
ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนามในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2567
คณะมนุษยศาสตร์ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์; ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2567 และขอต้อนรับ ดร.นันท์ภัชอร ภูมิธรรมรัตน์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ปฏิบัติงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ความสนใจทางวิชาการของ ดร.นันท์ภัชอร ภูมิธรรมรัตน์ ประกอบด้วย ผลงานของนักเขียนสตรี บันเทิงคดีประชานิยม และสื่อประเภทเกิร์ลส์เลิฟ (Girls Love – GL) ทั้งนี้ ดร.นันท์ภัชอร นับเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ปฏิบัติงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์ *ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2567 อนึ่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดการทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก #HumanitiesKU#ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์
July 5, 2024
คณะมนุษยศาสตร์ยินดีต้อนรับ Dr. Mary Jane Ainslie
คณะมนุษยศาสตร์ยินดีต้อนรับ Dr. Mary Jane Ainslie จาก University of Nottingham Ningbo China ในโอกาสที่เริ่มต้นปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะ (Visiting Scholar) สังกัดภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ อาจารย์ผู้ดูแลของ Dr. Ainslie คือรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี *การปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะหรือศาสตราจารย์อาคันตุกะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านโครงการ Academic Staff Mobility ในวาระนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUIC) กับคณะมนุษยศาสตร์
June 13, 2024
เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 3)
ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบ 3) ประเภททุน แผนงานวิจัยหรือแผนงานสร้างสรรค์ แผนงานละไม่เกิน 500,000 บาท โครงการวิจัยหรือโครงการงานสร้างสรรค์เดี่ยว โครงการละไม่เกิน 70,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์แบบเบ็ดเสร็จ ทุนละ 100,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาไทย โครงการละไม่เกิน 40,000 บาท ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาต่างประเทศ โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท คุณสมบัติผู้รับทุน เป็นบุคลากรสายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อหรือไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น เป็นผู้ไม่ค้างส่งทุนวิจัยหรือทุนโครงการตำรา ตามระยะเวลาที่กำหนด สอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่ คุณศรีวรรณ (เบล) ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ อีเมล sriwan.b@ku.th ดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/3zyuD7r ปิดรับข้อเสนอโครงการวันที่ 5 สิงหาคม 2567
June 4, 2024
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2567)
May 28, 2024
ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อ และ/หรือ บทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องฝรั่งเศส-ไทยศึกษาในมิติต่าง ๆ โดยมีกำหนดรับบทคัดย่อหรือบทความฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 สามารถส่งผลงานได้ที่ https://forms.gle/dHGrUov9kES7bYrJ7 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://tinyurl.com/y95bmsru พบกับเสวนาเนื่องในงานประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสในสุวรรณภูมิ: การเดินทางในโลกสหวิทยาการ” เรื่อง “ภาษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย/ลาว: บทบาทยุคปัจจุบัน” โดย Monsieur Sikko MILAKONG มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป.ลาว Madame Latdany LATMANYมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป.ลาว รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรพงษ์ อินทโน Institut national des langues et civilisations orientales-INALCO ประเทศฝรั่งเศส รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ปุรินทราภิบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.30 – 17.30 น. โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด อ.
May 28, 2024
ดวงใจวิจารณ์ ปี 2567
โค้งสุดท้าย ใกล้ปิดรับผลงานแล้ว อย่ารอช้า…รีบส่งบทวิจารณ์มาประกวดกัน ทั้งบทวิจารณ์วรรณกรรม และบทวิจารณ์สื่อร่วมสมัย ปิดรับผลงาน 31 พฤษภาคม นี้ ช่องทางการส่งผลงาน https://forms.gle/u55LJ9NLxw2rvasx9 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://shorturl.asia/Xd25a
May 15, 2024