โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน จ.ลพบุรี

viriya.k@ku.th

#ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มก. วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 ฝ่ายบริการวิชาการ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรวัสฐ์ กาวิละนันท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และทีมงาน จัดโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน อบรมการเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้กับกลุ่มรวมกันสู้ อยู่อย่างพร้อม มูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี หัวข้ออบรมเรื่อง การทำบาร์มสมุนไพรกลิ่นมะกรูด และสเปรย์ไลยุ่งสมุนไพร แนวคิดสำคัญของการบริการวิชาการครั้งนี้คือการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันสมุนไพร (มะกรูดหมัก) เพื่อเป็นส่วนประกอบหลักในการทำบาร์มกลิ่นมะกรูด และ สเปรย์ไล่ยุงสมุนไพร ทั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์ ได้รับความอนุเคราะห์จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมตตา เร่งขวนขวาย รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะเกษตร อาจารย์นฤพนธ์ น้อยประสาร และทีมงาน ซึ่งเป็นวิทยากรที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาอบรมให้กับกลุ่ม อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรีณรงค์ฤทธิ์ ทองดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุคา เป็นประธานพิธีเปิดอบรม และได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนงาน หัวหน้างานพัฒนาชุมชน จังหวัดลพบุรี ร่วมให้การต้อนรับและสนับสนุนการใช้พื้นที่ ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่ #https://lifelonglearning.human.ku.ac.th/ https://www.facebook.com/Humanities.KasetsartU ภาพกิจกรรม การทำบาร์มสมุนไพร 26 มีนาคม …

ร่วมพิธีทำบุญภาควิชาภาษาต่างประเทศ

viriya.k@ku.th

วันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.กฤตยา ณ หนองคาย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง พร้อมด้วย ผศ.พิวัฒน์ หิตกร หัวหน้าภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณาจารย์ภาควิชา และบุคลากร ร่วมพิธีทำบุญภาควิชาภาษาต่างประเทศ เนื่องในโอกาสปรับปรุง (Renovate) พื้นที่ภาควิชาภาษาต่างประเทศใหม่ ณ สำนักงานภาควิชาภาษาต่างประเทศ อาคารมนุษยศาสตร์ 1 ชั้น 3

โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนบางกะเจ้า

viriya.k@ku.th

โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนบางกะเจ้า ภายใต้โครงการเสริมสร้างบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน ปี 2564 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ในปีนี้ตัวแทนชุมนุมสวนป่าเกดน้อมเกล้า ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีความต้องการที่จะนำเสนอและประชาสัมพันธ์ธรรมชาติท้องถิ่นด้วยกระบวนอาบป่า ทางศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์ได้ดำเนินการจัดอบรมการอาบป่าให้แก่ชุมชนบางกะเจ้า โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการอาบป่า อาจารย์ ดร.ดารารัตน์ ซิ้มพัฒนวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ได้ให้ข้อมูลกระบวนการอาบป่าให้แก่ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในท้องถิ่น ณ สวนป่าเกดน้อมเกล้า ภาพกิจกรรมทั้งหมด https://drive.google.com/…/1I6X…

โครงการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับภาครัฐและเอกชน ประจำปี 2567

viriya.k@ku.th

#ฝ่ายบริการวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ ประสบความสำเร็จอีกครั้งกับหลักสูตรการอบรม โครงการพัฒนาทักษะภาษาไทยสำหรับภาครัฐและเอกชน ประจำปี 2567 “หลักสูตรการเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ” รอบที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารคณะมนุษยศาสตร์ 2 ขอบคุณทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ไว้วางใจให้ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ “อบรมหลักสูตรหนังสือราชการและรายงานการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ” ให้กับบุคลากรในหน่วยงานของท่าน ผู้เข้าอบรมจึงได้รับความรู้และได้รับเนื้อหาอย่างเข้มข้น การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ 2 ท่าน ได้แก่ 1.รศ.ดร.สิริวรรณ นันทจันทูล 2.อาจารย์ ดร.สุรีย์รัตน์ บำรุงสุข ทั้งนี้ ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ จะเปิด “อบรมหลักสูตรหนังสือราชการและรายงานการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ” อีกครั้ง ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ผู้ที่สนใจในรอบนี้ ท่านสามารถคลิก link นี้เพื่อสมัครได้เลย !!! ด่วน…รับจำนวนจำกัด” > https://docs.google.com/…/1FAIpQLSfU3ZuacQEbPQ…/viewform ภาพกิจกรรม คลิก link นี้ได้เลย! https://drive.google.com/…/1TDBnMIs7RAyyugCJ50t0DUOaxeZ…

โครงการ Japanese Education Fair และโครงการเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น

viriya.k@ku.th

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ที่ให้เกียรติมามอบของที่ระลึกและกล่าวเปิดงานในโครงการ Japanese Education Fair และโครงการเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ผ่านการแสดงเคียวเกง (Kyogen) ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 โดยมีการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ ● การจัดบูธให้คำแนะนำการเรียนและการศึกษาต่อด้านภาษาญี่ปุ่น จาก 9 หน่วยงาน 1. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย 2. JASSO Thailand 3. OSAKA University 4. OKAYAMA University 5. GIFU University 6. EHIME University 7. ศูนย์สนับสนุนการศึกษาต่อเมือง Higashikawa Hokkaido 8. บริษัท BABEL Method Inc. 9. ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์ ● การบรรยายการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น …

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานคณะมนุษยศาสตร์

viriya.k@ku.th

โครงการห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เข้าศึกษาดูงาน รศ.ดร.จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ ผศ.ดร.วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมต้อนรับและถ่ายทอดองค์ความรู้ของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้แก่นักเรียนและคณะครูจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนะแนวการศึกษาต่อเพื่ออาชีพในอนาคต วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 105 ชั้น 1 อาคารมนุษยศาสตร์ 1 เวลา 13.00 – 15.00 น. ภาพกิจกรรมทั้งหมด https://drive.google.com/…/1SHOtXarxidlQWvp2IZkdDdCUWKc…

งานประชุมวิชาการระดับชาติ “วายศึกษา วายสร้างสรรค์ วายยั่งยืน: Sustaining BL/Y Studies and Creative Sectors”

viriya.k@ku.th

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 ภาควิชาวรรณคดี; ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์ และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล; School of Cultural and Creative Studies, Aoyama Gakuin University, Japan; สำนักพิมพ์ JLIT และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “วายศึกษา วายสร้างสรรค์ วายยั่งยืน: Sustaining BL/Y Studies and Creative Sectors” ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ผลงานจากแผนงานวิจัย “เควียร์ อำนาจอ่อน แรงงาน และการแปล: หลังม่านวาย ในฐานะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ระดับชาติ/ข้ามชาติ” ที่มีรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย

การประชุมวิชาการการศึกษาภาษาญี่ปุ่นระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1

viriya.k@ku.th

ผศ.ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการการศึกษาภาษาญี่ปุ่นระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 “ทักษะชีวิตสำหรับสังคมแห่งอนาคต” เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมและแสดงดนตรี ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงเช้าเป็นการปาฐกถาพิเศษขององค์ปาฐกในหัวข้อ : “การเรียนภาษาในยุค Generative AI : การประยุกต์ใช้และความท้าทาย” โดย ศาสตราจารย์ TOHSAKU Yasuhiko มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ https://drive.google.com/…/1qLmPjzIgyOPawJA14KLegxon90t…

วันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 58 ปี

viriya.k@ku.th

ผศ.ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ หัวหน้างาน และบุคลากร ร่วมมอบกระเช้าผลไม้แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เนื่องในโอกาศวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 58 ปี ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2567

พิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 62

viriya.k@ku.th

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาอากาศโทหญิง ดร.งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 62 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมและแสดงดนตรี ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ การประชุมวิชาการประจำปีฯ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์กับคณะสังคมศาสตร์ โดยในปีนี้มีคณะมนุษยศาสตร์เป็นเจ้าภาพ กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการเสวนาพิเศษเรื่อง “Anthropocene ในทวิวัจน์ของนักมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์” สำหรับกิจกรรมช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบออนไลน์ โดยทั้งสองกิจกรรมมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Webex Meeting และ Nontri Live