ปรัชญาการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง บูรณาการความรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต

คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์มีเอกภาพในความหลากหลาย (Unity in Diversity)
เพื่อประยุกต์องค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์อย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ
โดยมุ่งส่งเสริมศักยภาพมนุษย์ให้เพียบพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและพลวัตวัฒนธรรมในบริบทสากล

วิสัยทัศน์

คณะมนุษยศาสตร์เป็นผู้นำด้านการประยุกต์องค์ความรู้สาขามนุษยศาสตร์สู่ความเป็นเลิศและสู่สากล

ค่านิยม

สร้างสรรค์ มองไกล ร่วมใจ พัฒนา

ข่าวประชาสัมพันธ์

Image

โครงการอบรมอาบป่า: การใช้ป่าเพื่อการบำบัดรักษาโรค Forest Medicine

ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ร่วมกับภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมอาบป่า: การใช้ป่าเพื่อการบำบัดรักษาโรค Forest Medicine ประเทศญี่ปุ่นขึ้น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การใช้ป่าเพื่อการบำบัดรักษาโรค โดยร่วมมือกับสถาบัน International Society of Nature and Forest Medicine (INFOM)ณ ประเทศญี่ปุ่น.ความหมายของการอาบป่าShinrin Yoku เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Forest Bathing ในบริบทภาษาไทยแปลตรงตัวว่า การอาบป่า ให้ความหมายตามประเทศต้นกำเนิดกิจกรรมนี้ว่า การพาตัวเองไปชุ่มแช่ในธรรมชาติเพื่อดื่มด่ำความสงบท่ามกลางสารประกอบอันเป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นเองจากต้นไม่ใหญ่ในป่า ระยะเวลาของการอยู่ในป่าและการได้รับสารประกอบที่มีชื่อว่า Phytoncide ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วว่า ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ลดความดันโลหิต เพิ่มสารฮอร์โมนความสุข และประโยชน์อื่นๆ ต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจอีกนานาประการ.ความสำคัญปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคภาวะทางอารมณ์เป็นจำนวนมาก จากการวิจัยพบว่ามี 10% ของวัยเจเนอเรชัน X และ 32% ของวัยเจเนอเรชัน Z มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งผลการวิจัยในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน สหราชอาณาจักร และประเทศไทย ให้ผลตรงกันว่าการทำกิจกรรมอาบป่าจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้องของการจัดกิจกรรมและการให้ความสำคัญกับการอาบป่าจึงเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างแพร่หลาย เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา
April 2, 2025

โครงการอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์การแต่งบทร้อยกรองสู่ความเป็นเลิศ”

“แต่งบทร้อยกรองอย่างไรให้ไพเราะ เจาะลึกทุกเทคนิค เพื่อพิชิตการประกวด” ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ร่วมกับ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดโครงการอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์การแต่งบทร้อยกรองสู่ความเป็นเลิศ”ขึ้น เพื่อการสอนแต่งบทร้อยกรองมีเป้าหมายเพื่อฝึกให้ผู้เรียนสามารถแต่งคำประพันธ์ได้อย่างถูกต้องตามฉันทลักษณ์ พร้อมทั้งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ถ้อยคำอย่างไพเราะ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง สละสลวย และเหมาะสมกับบริบท นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวด เสริมสร้างความมั่นใจในการแสดงออกทางภาษา และส่งเสริมการสืบสานวรรณศิลป์ไทยให้คงอยู่ต่อไป 1. บรรยายเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “หลักการแต่งบทร้อยกรองสู่ความเป็นเลิศ”– ฉันทลักษณ์: หัวใจหลักของบทร้อยกรอง– สัมผัสใน: วางตำแหน่งอย่างไรจึงไพเราะ– วรรณศิลป์ ภาพพจน์: สร้างรสคำ เสริมรสความ2. ฝึกปฏิบัติในหัวข้อ “ศิลปะการเล่าเรื่องในการแต่งบทร้อยกรอง”3. บรรยายเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “จากทฤษฎีสู่เวทีการแข่งขัน”– แนวทางการแต่งบทร้อยกรองเพื่อการประกวด (กลอนสุภาพ)– เทคนิคการแต่งบทร้อยกรองในเวลาจำกัด (กลอนสด)4. ฝึกเขียนบทร้อยกรอง วิทยากรโดย1. อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง)– ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์– อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย– นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์2. อาจารย์ภูษิต ศรีมณี– อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มก.– รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2551– รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ
April 1, 2025
Featured image for “โครงการอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์การแต่งบทร้อยกรองสู่ความเป็นเลิศ””

โครงการปฏิบัติการ iTA รุ่น 1 ผู้ช่วยสอนอัจฉริยะด้วย AI สำหรับผู้สอนยุคใหม่

“แนะแนวทาง เทคนิค และฝึกปฏิบัติการใช้ AI เป็นผู้ช่วยสอน” ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ร่วมกับ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิด โครงการปฏิบัติการ iTA รุ่น 1 ผู้ช่วยสอนอัจฉริยะด้วย AI สำหรับผู้สอนยุคใหม่ขึ้น เพื่อสอนตั้งค่าการใช้งาน AI แบบถาวรเพื่อให้ตอบสนองได้ตรงตามลักษณะการสอนของตนเอง ใช้กลยุทธ์การสั่งงาน AI แบบเรียลไทม์เพื่อการช่วยสอนสร้างและปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน สร้างเอกสารประกอบการเรียน ใบงาน และแบบทดสอบด้วย AI และสามารถใช้ AI ในการตรวจและให้คะแนนแบบทดสอบในหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับ ครูอาจารย์ทุกระดับที่ต้องการ AI เป็นผู้ช่วยสอน 1. การตั้งค่าการใช้งาน AI และการสั่งงาน การเรียนรู้วิธีสั่งงาน AI ทั้งแบบตั้งค่าถาวรและแบบเรียลไทม์2. การสร้างและปรับปรุงเนื้อหาการสอน การใช้ AI สร้างบทเรียนและเอกสารประกอบการสอน3. การสร้างแบบทดสอบ การตรวจคะแนน และการให้ข้อเสนอแนะ การใช้ AI ช่วยสร้างข้อสอบ ตรวจคะแนน และให้ข้อเสนอแนะนักเรียน สอนปฏิบัติโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สอนกิจจา บุญโปร่ง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายดิจิทัลและพัฒนาเทคโนโลยี คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรละ 2,900
March 27, 2025
Featured image for “โครงการปฏิบัติการ iTA รุ่น 1 ผู้ช่วยสอนอัจฉริยะด้วย AI สำหรับผู้สอนยุคใหม่”

HUMAN Insight

Image

เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2568 (รอบ 2)

ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2568 (รอบ 2) ประเภททุน 1.แผนงานวิจัยหรือแผนงานสร้างสรรค์ แผนงานละไม่เกิน 500,000 บาท 2.โครงการวิจัยหรือโครงการงานสร้างสรรค์เดี่ยว โครงการละไม่เกิน 70,000 บาท 3.ทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์แบบเบ็ดเสร็จ ทุนละ 100,000 บาท 4.ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาไทย โครงการละไม่เกิน 40,000 บาท 5.ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเอกสารเพื่อพัฒนาต้นฉบับหนังสือหรือตำราฉบับภาษาต่างประเทศ โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท คุณสมบัติผู้รับทุน 1.เป็นบุคลากรสายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี 2.ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อหรือไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น 3.เป็นผู้ไม่ค้างส่งทุนวิจัยหรือทุนโครงการตำรา ตามระยะเวลาที่กำหนด สอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่ คุณศรีวรรณ (เบล) ฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ อีเมล sriwan.b@ku.th ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://bit.ly/3zyuD7r ปิดรับข้อเสนอโครงการวันที่ 30 พฤษภาคม 2568
March 18, 2025

โครงการประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสศึกษา: สหวิทยาการและการข้ามพรมแดน”

คณะมนุษยศาสตร์ โดยฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์; สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาต่างประเทศ และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายการวิจัย ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อด้านฝรั่งเศสศึกษาในมิติต่างๆ (ภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส) โครงการประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสศึกษา: สหวิทยาการและการข้ามพรมแดน” วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ  กำหนดเปิดรับบทคัดย่อ จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2568โดยส่งบทคัดย่อได้ที่ https://forms.gle/dHGrUov9kES7bYrJ7  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: อ.วันถวิล วงศ์วานิช อีเมล wantawin.w@ku.th
March 17, 2025
Featured image for “โครงการประชุมวิชาการสหวิทยาการระดับชาติด้านฝรั่งเศสศึกษา “ฝรั่งเศสศึกษา: สหวิทยาการและการข้ามพรมแดน””

โครงการชุมชนวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัย ปี 2568 ครั้งที่ 7 “วรรณกรรมกับการวิจารณ์แนวจิตวิเคราะห์”

ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาโครงการชุมชนวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัย ปี 2568 ครั้งที่ 7 “วรรณกรรมกับการวิจารณ์แนวจิตวิเคราะห์” โดย รศ.ดร.ทอแสง เชาว์ชุติภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนทนาโดยรศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะผู้เชี่ยวชาญวุฒิคุณประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคมธ์ 2568 เวลา 13.00-15.00 น. กิจกรรมดำเนินการผ่านระบบซูม ผู้ลงทะเบียนจะได้รับลิงก์ซูมผ่านอีเมลเปิดให้ลงทะเบียนแล้วผ่านทางลิงก์นี้ https://forms.gle/YZNgGo9o1Huj9u538 หมายเหตุ : ลงทะเบียนได้ถึงวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 22.00 น.
March 7, 2025
Featured image for “โครงการชุมชนวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัย ปี 2568 ครั้งที่ 7 “วรรณกรรมกับการวิจารณ์แนวจิตวิเคราะห์””

ข่าวสมัครงาน

Image

ขอแสดงความยินดีกับ
ผศ.ภาณุภัค โมกขศักดิ์
อาจารย์ประจำจากภาควิชาดนตรี
สาขาดนตรีไทย

ในโอกาสได้รับคัดเลือกให้เป็น "ครูดนตรี ผู้สร้างแรงบันดาลใจ" ในโครงการเชิดชูเกียรติครูดนตรี พิจารณามอบรางวัลโดย สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) ร่วมกับ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566

#HumanitiesKU #Congratulations

Image

ขอแสดงความยินดีกับ
ผศ.ภาณุภัค โมกขศักดิ์
อาจารย์ประจำจากภาควิชาดนตรี
สาขาดนตรีไทย

ในโอกาสได้รับคัดเลือกให้เป็น "ครูดนตรี ผู้สร้างแรงบันดาลใจ" ในโครงการเชิดชูเกียรติครูดนตรี พิจารณามอบรางวัลโดย สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) ร่วมกับ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566

#HumanitiesKU #Congratulations

ภาพกิจกรรม

Image

การศึกษาฐานสมรรถนะและการสร้างนวัตกรรมจากรายวิชาสะเต็ม (STEM)

#ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568 ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา อนันตผล ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะ พาคณะครูจากโรงเรียนวัดเทวสุนทร เข้าศึกษาดูงาน “การศึกษาฐานสมรรถนะและการสร้างนวัตกรรมจากรายวิชาสะเต็ม (STEM)” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ครูผู้สอนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ > https://drive.google.com/…/1PBlhxkz5GqHqnElxkBajVH0pkoS…
February 24, 2025
Image

วันคล้ายวันสถาปนาสำนักบริการคอมพิวเตอร์ครบรอบ 40 ปี

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ และหัวหน้างาน ร่วมมอบกระเช้าผลไม้แสดงความยินดีแด่ รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ผลเพิ่ม รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักบริการคอมพิวเตอร์ครบรอบ 40 ปี ณ บริเวณโถงชั้น 1 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
February 24, 2025
Image

Earn some cash, chat with me Phase 2

วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มอบหมายให้ อาจารย์ ดร. ภัทร์ศรียรรยงค์ สังข์รุ่ง ดำเนินการเปิดโครงการกิจกรรมเสริมหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อมุ่งสู่ระดับ B2 “Earn some cash, chat with me Phase 2” ณ ห้องประชุม 205 ชั้น 2 อาคาร EV1 คณะสิ่งแวดล้อม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ผิวนิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และบุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมเปิดโครงการฯ
February 24, 2025
Image

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานบัตรอำนวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘

วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๘ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้เชิญบัตรอำนวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ ที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และวงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart Winds) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุภัค โมกขศักดิ์ หัวหน้าภาควิชาดนตรี เป็นผู้รับมอบ นอกจากนี้ มีผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ คณาจารย์ และตัวแทนนิสิตจากวงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart Winds) เข้าร่วมพิธีรับมอบบัตรอำนวยพรพระราชทานฯ ในครั้งนี้ด้วย ณ อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การได้รับพระราชทานบัตรอำนวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ ยังความปลาบปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีต่อผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างหาที่สุดมิได้
February 24, 2025
Image

การสัมมนาพัฒนาศักยภาพทักษะการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Training of Trainer)

คณาจารย์ภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาพัฒนาศักยภาพทักษะการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Training of Trainer) โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการสัมมนา ระหว่างวันที่ 14-17 มกราคม 2568 ณ โรงแรมเอส บางกอก นวมินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรระดับเขต ระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง จำนวน 90 คน เพิ่มทักษะและเทคนิคในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้เกิดความยั่งยืนและเหมาะสม โดยมีหัวข้อบรรยายต่อไปนี้ 1. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Model โดย รศ.ดร.สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน และ ดร.อังคณา ใหญ่ยง 2. การพัฒนาทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอดความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดย ดร.ภพพิศลย์ ภพอุดม 3. การพัฒนา Growth Mindset ของผู้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดย ดร.ศรัณย์ วิทยากรบัณฑิต
February 24, 2025
Image

การบริการวิชาการสู่ชุมชนบริเวณโรงเรียนรอบรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

#ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 ฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา อนันตผล ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะมนุษยศาสตร์ เดินทางไปร่วมรายการวันใหม่วาไรตี้ช่วงนครฮีลใจ ซึ่งออกอากาศสด เวลา 08.40 น. ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อให้สัมภาษณ์เรื่อง “การบริการวิชาการสู่ชุมชนบริเวณโรงเรียนรอบรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ได้แก่ โรงเรียนวัดเสมียนนารี โรงเรียนวัดเทวสุนทร และโรงเรียนวัดหลักสี่ การบริการวิชาการดังกล่าวได้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและคณะมนุษยศาสตร์ที่ต้องการพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนตามความต้องการ มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ เทคโนโลยี และความเข้าใจในบริบทของสังคมและชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะนำมาซึ่งศักยภาพของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างการพัฒนาทักษะครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ได้จัดอบรมให้ครูไปเมื่อวันที่ 21-22 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
February 24, 2025
ImageImage

under maintenance