ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524 เป็นคณะลำดับที่ 11ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2524 กำหนดให้คณะมนุษยศาสตร์เป็นส่วนราชการ 1 ใน 17 ส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524 เป็นคณะลำดับที่ 11ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2524 กำหนดให้คณะมนุษยศาสตร์เป็นส่วนราชการ 1 ใน 17 ส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524 เป็นคณะลำดับที่ 11ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2524 กำหนดให้คณะมนุษยศาสตร์เป็นส่วนราชการ 1 ใน 17 ส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2524
คณะมนุษยศาสตร์ได้รับโอนภาควิชาภาษามาจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยแบ่งตามสาขาวิชาแยกเป็น 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภาษา ภาควิชาภาษาศาสตร์ และภาควิชาวรรณคดี นอกจากนี้ ยังได้รับโอนภาควิชาปรัชญาและศาสนามาจากคณะสังคมศาสตร์อีก 1 ภาควิชา และจัดตั้งภาควิชาใหม่ 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ภาควิชาศิลปาชีพ และภาควิชาศิลปนิเทศ รวมมีภาควิชาเมื่อแรกก่อตั้งจำนวน 7 ภาควิชา
พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2549
- จัดตั้งสถาบันขงจื๊อ ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวง ศึกษาธิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมด้านการสอนและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมจีน รวมทั้งเป็นศูนย์ทดสอบภาษาจีนมาตรฐานที่เรียกว่า “HSK” (Hanyu Shuiping Kaoshi)
- สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อนุมัติจัดตั้งศูนย์จัดการศึกษาโครงการพิเศษ คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานการบริการโครงการจัดการศึกษาภาคพิเศษของคณะมนุษยศาสตร์ ทั้งในส่วนงานด้านธุรการและประสานด้านการบริการวิชาการของหลักสูตรระดับ ปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาภาคพิเศษในทุกสาขาของคณะ
พ.ศ. 2552
รวมภาควิชาบรรณารักษศาสตร์กับสาขาวิชาสื่อสารมวลชน ภาควิชาศิลปะนิเทศ แล้วจัดตั้งเป็นภาควิชาใหม่คือ “ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสาขาดนตรี ภาควิชาศิลปนิเทศ จัดตั้งเป็น “ภาควิชาดนตรี” จำนวนรวมของภาควิชายังคงเป็น 8 ภาควิชาเช่นเดิม
พ.ศ. 2553
คณะมนุษยศาสตร์ได้รับโอนสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามารวมเป็นหน่วยงานสนับสนุนของคณะเพิ่มเป็น 5 หน่วยงาน
พ.ศ. 2555
แยกสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาจีน ออกจากภาควิชาภาษาต่างประเทศ และจัดตั้งเป็น “ภาควิชาภาษาตะวันออก” ซึ่งนอกจากจะมีการเรียนการสอนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน ยังมีวิชาเลือกภาษาเกาหลี และภาษาอาเซียน ได้แก่ ภาษาเวียดนาม ภาษามาเลย์ และภาษาพม่า เพื่อการเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมภาควิชาทั้งหมดจำนวน 9 ภาควิชา
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2563
- เปลี่ยนชื่องานภายในสำนักงานเลขานุการ ได้แก่ “งานบริการการศึกษา” เป็น “งานบริหารการศึกษา” และ “งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ” เป็น “งานทรัพยากรกายภาพ”
- ปรับรวมงานภายในสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์จาก 2 งานเป็น 1 งานคือ งานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์การเกษตร และศูนย์นวัตกรรมดนตรีและท่องเที่ยว
- ปรับฐานะศูนย์จัดการศึกษาโครงการพิเศษ ที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา เป็น หน่วยจัดการศึกษาโครงการพิเศษ สังกัดงานบริหารการศึกษา สำนักงานเลขานุการ
พ.ศ. 2565
ปรับโครงสร้างการบริหารหน่วยงานภายในคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อให้การบริหารงานและการดำเนินงานภายในคณะมีความชัดเจน คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน ดังนี้
- สำนักงานเลขานุการ แบ่งเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารและธุรการ มี 5 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยธุรการและสารบรรณ
2) หน่วยทรัพยากรมนุษย์
3) หน่วยบริการวิชาการ
4) หน่วยวิจัยและสร้างสรรค์
5) หน่วยวิเทศสัมพันธ์
- งานคลังและพัสดุ มี 2 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยคลัง
2) หน่วยพัสดุ - งานบริหารการศึกษา มี 2 หน่วย ได้แก่
1) ทะเบียนและกิจการนิสิต
2) หน่วยวิชาการและการจัดการศึกษา
- งานแผนและประกันคุณภาพ มี 2 หน่วยได้แก่
1) หน่วยแผนและประกันคุณภาพ
2) หน่วยข้อมูลสารสนเทศและสื่อสาร
องค์กร - งานทรัพยากรกายภาพ มี 2 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ
2) หน่วยเทคโนโลยีการศึกษา
- ปรับโอนย้ายศูนย์นวัตกรรมดนตรีและท่องเที่ยว ที่มีฐานะเป็นหน่วยในงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ไปสังกัดภายใต้ภาควิชาดนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ดนตรี”
- จัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นหน่วยงานภายในตามแผนเชิงรุกของคณบดี
พ.ศ. 2524
คณะมนุษยศาสตร์ได้รับโอนภาควิชาภาษามาจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยแบ่งตามสาขาวิชาแยกเป็น 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภาษา ภาควิชาภาษาศาสตร์ และภาควิชาวรรณคดี นอกจากนี้ ยังได้รับโอนภาควิชาปรัชญาและศาสนามาจากคณะสังคมศาสตร์อีก 1 ภาควิชา และจัดตั้งภาควิชาใหม่ 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ภาควิชาศิลปาชีพ และภาควิชาศิลปนิเทศ รวมมีภาควิชาเมื่อแรกก่อตั้งจำนวน 7 ภาควิชา
พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2549
- จัดตั้งสถาบันขงจื๊อ ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวง ศึกษาธิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมด้านการสอนและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมจีน รวมทั้งเป็นศูนย์ทดสอบภาษาจีนมาตรฐานที่เรียกว่า “HSK” (Hanyu Shuiping Kaoshi)
- สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อนุมัติจัดตั้งศูนย์จัดการศึกษาโครงการพิเศษ คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานการบริการโครงการจัดการศึกษาภาคพิเศษของคณะมนุษยศาสตร์ ทั้งในส่วนงานด้านธุรการและประสานด้านการบริการวิชาการของหลักสูตรระดับ ปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาภาคพิเศษในทุกสาขาของคณะ
พ.ศ. 2552
รวมภาควิชาบรรณารักษศาสตร์กับสาขาวิชาสื่อสารมวลชน ภาควิชาศิลปะนิเทศ แล้วจัดตั้งเป็นภาควิชาใหม่คือ “ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” และปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสาขาดนตรี ภาควิชาศิลปนิเทศ จัดตั้งเป็น “ภาควิชาดนตรี” จำนวนรวมของภาควิชายังคงเป็น 8 ภาควิชาเช่นเดิม
พ.ศ. 2553
คณะมนุษยศาสตร์ได้รับโอนสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามารวมเป็นหน่วยงานสนับสนุนของคณะเพิ่มเป็น 5 หน่วยงาน
พ.ศ. 2555
แยกสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาจีน ออกจากภาควิชาภาษาต่างประเทศ และจัดตั้งเป็น “ภาควิชาภาษาตะวันออก” ซึ่งนอกจากจะมีการเรียนการสอนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน ยังมีวิชาเลือกภาษาเกาหลี และภาษาอาเซียน ได้แก่ ภาษาเวียดนาม ภาษามาเลย์ และภาษาพม่า เพื่อการเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมภาควิชาทั้งหมดจำนวน 9 ภาควิชา
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2563
- เปลี่ยนชื่องานภายในสำนักงานเลขานุการ ได้แก่ “งานบริการการศึกษา” เป็น “งานบริหารการศึกษา” และ “งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ” เป็น “งานทรัพยากรกายภาพ”
- ปรับรวมงานภายในสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์จาก 2 งานเป็น 1 งานคือ งานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์การเกษตร และศูนย์นวัตกรรมดนตรีและท่องเที่ยว
- ปรับฐานะศูนย์จัดการศึกษาโครงการพิเศษ ที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา เป็น หน่วยจัดการศึกษาโครงการพิเศษ สังกัดงานบริหารการศึกษา สำนักงานเลขานุการ
พ.ศ. 2565
ปรับโครงสร้างการบริหารหน่วยงานภายในคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อให้การบริหารงานและการดำเนินงานภายในคณะมีความชัดเจน คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน ดังนี้
- สำนักงานเลขานุการ แบ่งเป็น 5 งาน ประกอบด้วย
- งานบริหารและธุรการ มี 5 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยธุรการและสารบรรณ
2) หน่วยทรัพยากรมนุษย์
3) หน่วยบริการวิชาการ
4) หน่วยวิจัยและสร้างสรรค์
5) หน่วยวิเทศสัมพันธ์
- งานคลังและพัสดุ มี 2 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยคลัง
2) หน่วยพัสดุ - งานบริหารการศึกษา มี 2 หน่วย ได้แก่
1) ทะเบียนและกิจการนิสิต
2) หน่วยวิชาการและการจัดการศึกษา
- งานแผนและประกันคุณภาพ มี 2 หน่วยได้แก่
1) หน่วยแผนและประกันคุณภาพ
2) หน่วยข้อมูลสารสนเทศและสื่อสาร
องค์กร - งานทรัพยากรกายภาพ มี 2 หน่วย ได้แก่
1) หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ
2) หน่วยเทคโนโลยีการศึกษา
- ปรับโอนย้ายศูนย์นวัตกรรมดนตรีและท่องเที่ยว ที่มีฐานะเป็นหน่วยในงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของสถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ ไปสังกัดภายใต้ภาควิชาดนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ดนตรี”
- จัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นหน่วยงานภายในตามแผนเชิงรุกของคณบดี
รายนามคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ (อดีตถึงปัจจุบัน)
การแบ่งส่วนราชการ
- ภาควิชาดนตรี
- ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
- ภาควิชาภาษาตะวันออก
- ภาควิชาภาษาต่างประเทศ
- ภาควิชาภาษาไทย
- ภาควิชาภาษาศาสตร์
- ภาควิชาวรรณคดี
- ภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ(ภาควิชาศิลปาชีพเดิม)
- ศูนย์ภาษา
- ศูนย์ทดสอบทางภาษา
- สถาบันขงจื๊อ
- สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์
- สำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์
ข้อมูลอาคารเรียน
อาคารวชิรญาณสังวร
(อาคารมนุษยศาสตร์ 1)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2531 และทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพร้อมทั้งทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534
อาคารประเสริฐศตวรรษา
(อาคารมนุษยศาสตร์ 2) และ
อาคารกัญจนานิทัศน์
(อาคารมนุษยศาสตร์ 3)
ได้รับโอนอาคารเรียนจากคณะประมง แล้วได้ปรับปรุงภูมิทัศน์
ซ่อมแซมและตกแต่ง เริ่มใช้อาคารเมื่อปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ตามลำดับ
อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์
(อาคารมนุษยศาสตร์ 4)
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมันกโร) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และพระราชครูวามเทพมุนี เป็นประธานในพิธีพราหมณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานนามอาคารว่า “จุฬาภรณ์พิศาลศิลป์” และพระราชทานพระอนุญาตอันเชิญอักษรพระนามย่อ “จ.ภ.” มาประดิษฐานคู่กับนามอาคาร ทั้งยังเสด็จมาทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 และเริ่มใช้อาคารในปี พ.ศ. 2555
ข้อมูลอาคารเรียน
อาคารวชิรญาณสังวร (อาคารมนุษยศาสตร์ 1)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2531 และทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพร้อมทั้งทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534
อาคารประเสริฐศตวรรษา (อาคารมนุษยศาสตร์ 2) และอาคารกัญจนานิทัศน์ (อาคารมนุษยศาสตร์ 3)
ได้รับโอนอาคารเรียนจากคณะประมง แล้วได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ซ่อมแซมและตกแต่ง เริ่มใช้อาคารเมื่อปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ตามลำดับ
อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ (อาคารมนุษยศาสตร์ 4)
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมันกโร) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และพระราชครูวามเทพมุนี เป็นประธานในพิธีพราหมณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานนามอาคารว่า “จุฬาภรณ์พิศาลศิลป์” และพระราชทานพระอนุญาตอันเชิญอักษรพระนามย่อ “จ.ภ.” มาประดิษฐานคู่กับนามอาคาร ทั้งยังเสด็จมาทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 และเริ่มใช้อาคารในปี พ.ศ. 2555
ข้อมูลอาคารเรียน
อาคารวชิรญาณสังวร (อาคารมนุษยศาสตร์ 1)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2531 และทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพร้อมทั้งทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534
อาคารประเสริฐศตวรรษา (อาคารมนุษยศาสตร์ 2) และอาคารกัญจนานิทัศน์ (อาคารมนุษยศาสตร์ 3)
ได้รับโอนอาคารเรียนจากคณะประมง แล้วได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ซ่อมแซมและตกแต่ง เริ่มใช้อาคารเมื่อปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ตามลำดับ
อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ (อาคารมนุษยศาสตร์ 4)
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมันกโร) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และพระราชครูวามเทพมุนี เป็นประธานในพิธีพราหมณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานนามอาคารว่า “จุฬาภรณ์พิศาลศิลป์” และพระราชทานพระอนุญาตอันเชิญอักษรพระนามย่อ “จ.ภ.” มาประดิษฐานคู่กับนามอาคาร ทั้งยังเสด็จมาทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 และเริ่มใช้อาคารในปี พ.ศ. 2555